ระบบระบายอากาศ
ระบบระบายอากาศในเซาว์น่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งในแง่ของการระบายอากาศเก่าออกไปและให้
อากาศบริสุทธิ์เข้ามาแทนที่ ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกปลอดภัยของผู้อาบเซาว์น่า ในห้องเซาว์น่าที่ปิดทึบก๊าซอ๊อกซิเจน
จะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำให้การหายใจเป็นไปด้วยความลำบาก เนื่องจากในอากาศร้อนนั้นจะมีอ๊อกซิเจน
ในปริมาณเบาบางกว่าอากาศเย็นนอกห้องเซาว์น่า บางครั้งผู้อาบเซาว์น่าอาจรู้สึกวิงเวียนเนื่องจากขาดอ๊อกซิเจน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบระบายอากาศที่จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสม่ำเสมอ
โดยปกติในการเปิดปิดประตูห้องเซาว์น่าแต่ละครั้งก็มีส่วนถ่ายเทอากาศ แต่เป็นปริมาณจำกัดมาก
ซึ่งไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีการออกแบบระบบวาวล์ปรับอากาศ 2 ตัว ติดกับฝาผนังห้องเซาว์น่า วาวล์ตัวแรกเป็นทางให้
อากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ห้องเซาว์น่าซึ่งโดยปกติจะติดในระดับต่ำใกล้กับตัวเตาเซาว์น่า อากาศบริสุทธิ์สามารถไหลเข้าสู่
ห้องเซาว์น่าโดยผ่านวาวล์นี้ ซึ่งไม่ควรเป็นจัดที่ติดกับห้องที่มีกลิ่นใด ๆ ก็ตามที่ไม่สะอาด เพราะจะมีผลให้อากาศ
ที่ถ่ายเทเข้ามามีกลิ่นนั้น ๆ ไปด้วย
ปัญหาสำคัญที่ผู้ออกแบบห้องเซาว์น่าต้องพิจารณากันเป็นพิเศษคือ วาวล์ถ่ายเทอากาศออก โดยหลัก
การที่ว่าอากาศร้อนจะลอยขึ้นสูง ดังนั้นดูเหมือนว่าน่าจะติดวาวล์ระบายอากาศออกในตำแหน่งสูงตรงข้ามกับวาวล์ตัวแรก
แต่มีข้อที่ต้องคำนึงซึ่งสัมพันธ์กับระบบระบายอากาศด้วยในที่นี้คือเรื่องความเหมาะสมของความชื้น (LOYLY) และ
อุณหภูมิ จากการทดสอบถ้าติดวาวล์ระบายอากาศในตำแหน่งสูงแล้วจะทำให้เกิดการถ่ายเทความชื้นและอุณหภูมิ
ในรูปทะแยงมุนออกสู่ภายนอกอย่างรวดเร็ว ดังนั้นตำแหน่งที่ถูกต้องและเป็นหลักยอมรับกันทั่วไป คือ การติดวาวล์
ระบายอากาศออกในกำแพงด้านตรงข้ามกับวาวล์ตัวแรกในตำแหน่งเดียวกันหรือสูงกว่าเล็กน้อย ในระหว่างการอาบ
เซาว์น่าเมื่อผู้อาบพรมน้ำลงบนหินในเตา น้ำจะกลายเป็นไอกระจายอย่างรวดเร็ว พุ่งขึ้นสู่เพดาน เมื่อเป็นจำนวนมากเข้า
ก็จะผลักดันให้อากาศลดระดับลงสู่ด้านล่างและผ่านวาวล์ระบายออกไป สภาพดังกล่าวคล้ายกับระบบผลักดันของลูกสูบ
การพรมน้ำลงบนหินก็มีส่วนสำคัญต่อระบบระบายอากาศดังกล่าว ซึ่งส่วนมากผู้ออกแบบเซาว์น่าและ
ผู้ผลิตเตาเซาว์น่ามักมองข้ามไป การออกแบบเตาเซาว์น่าที่ไม่ได้มาตรฐานในการกระจายน้ำให้เป็นไอระเหยไปเมื่อพรมน้ำ
ลงบนหินในปริมาณที่เหมาะสมสามารถก่อให้เกิดอันตรายในระบบระบายอากาศได้
วัสดุในการผลิตห้องเซาว์น่า
มีอีกหลายคนนอกจากชาวฟินแลนด์ที่พยายามคิดค้น และใช้วัสดุอื่นนอกจากไม้สนฟินแลนด์
(FINNISH FIR) ในการผลิตห้องเซาว์น่า อาทิเช่น สแตนเลส, อลูมิเนียม, ทองแดง, พลาสติกหล่อชนิดต่าง ๆ, ไฟเบอร์
และแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซีเมนต์ แต่ก็ประสบความล้มเหลวทุกราย นับเป็นความพยายามที่ไม่มีประโยชน์เพราะ
อย่างไรก็ตามไม่สามารถจัดว่าห้องหรือตู้ที่ผลิตขึ้นนั้นเป็นห้องเซาว์น่าได้
ผนังห้อง
วัสดุที่นิยมใช้ในการทำผนังห้องเซาว์น่า คือ ไม้สนทั้งชนิด Pine (Pinus Sylvestris) หรือ Spruce
(Picea Abies) จากแถบศูนย์กลางย่านบอลติก (Baltic) ไม้ทั้งสองชนิดดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษในตัวเองที่เหมาะสม
ในการใช้ทำผนังห้องเซาว์น่า และพบมากที่สุดในป่าไม้เนื้ออ่อนของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งอาจไม่ถูกต้องนักในการสรุปว่า
ไม่มีไม้ในประเทศอื่นใดที่เหมาะสมกว่าในการใช้ผลิตเป็นห้องเซาว์น่า
การวิเคราะห์และพิจารณาอย่างละเอียดถึงคุณสมบัติของไม้และตระกูลของไม้ที่จะนำมาใช้ผลิตห้อง
เซาว์น่าจะช่วยป้องกันความผิดพลาดในการเลือกไม่ได้
คุณสมบัติที่เหมาะสมของไม้ที่จะนำมาใช้ทำเป็นห้องเซาว์น่า คือ
- ต้องเป็นไม้ที่ไม่อมความร้อน
- ต้องเป็นไม้ที่ไม่นำความร้อน
- เป็นไม้ที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอได้ขนาด
- มีความต้านทานต่อการแตกร้าว และกระเทาะสูง
- ให้ความรู้สึก และกลิ่นพิเศษของไม้สนดังกล่าว
- ไม่มีตาไม้หรือมีก็น้อยมาก
- ไม่มียาง
- มีความทนทาน, อายุการใช้งานนาน
- นอกจากนี้ควรเป็นไม้ที่เก็บเสียง, ไม่มีรอยด่างจากเหงื่อหรือโลหะ
ม้ายาวในเซาว์น่า
ม้ายาวในห้องเซาว์น่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะจะสัมผัสกับร่างกายของผู้อาบเซาว์น่าโดยตรง ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องมีการเลือกไม้ที่ถูกต้อง เหมาะสม แม้ว่าคุณสมบัติจะต่างกันกับไม้ที่ใช้ในการทำตัวห้องบ้าง แต่โดยทั่วไป
ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ไม่อมความร้อนเลย
- มีขนาดที่เหมาะสม สม่ำเสมอ
- มีความคงทนต่อการแตกร้าว และไม่มีเสี้ยน
- ไม่มียาง
- คงทนมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่เป็นรอยด่างจากเหงื่อ หรือโลหะ
ฝ้า, เพดาน
เพดานของห้องเซาว์น่าควรเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ไม่เก็บความร้อน
- มีความทนทานต่ออุณหภูมิสูง และเก็บเสียง
- มีความทนทานยากต่อการแตกร้าว
- สวยงาม และไม่มีกลิ่น
- ไม่มียาง
- ควรมีสีสรร หรือลายไม้เข้ากับตัวห้อง
พื้นห้อง
โดยปกติพื้นห้องเซาว์น่าจะถูกปิดบังด้วยม้ายาว, เตา และแผงไม้รองเดิน (DUCKBOARDS) อยู่แล้ว
ดังนั้นพื้นห้องจึงไม่จำเป็นต้องมีการใช้วัสดุพิเศษ แต่ต้องเป็นพื้นที่เตรียมโดยไม่มีกลิ่นรบกวนออกมา เช่น พื้นซีเมนต์,
พื้นที่ปูด้วยหินอ่อน เป็นต้น
แผงไม้รองเดิน (DUCKGOARDS) ควรทำจากไม้ที่ทนทานต่อการผุ, ทนทานต่อการแตกร้าว
แต่ไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติพิเศษในการไม่เก็บความร้อน เนื่องจากโดยปกติอุณหภูมิที่ระดับพื้นห้องจะไม่สูงนัก
การบำรุงรักษาก็โดยการทำความสะอาดด้วยน้ำเพื่อล้างคราบเหงื่อ, และฝุ่นที่อาจติดอยู่ด้วยน้ำธรรมดา
และผึ่งให้แห้งนอกห้องเซาว์น่า
การเลือกใช้ขนาดห้องเซาว์น่า
ขนาดของห้องเซาว์น่าที่เหมาะสมในการเลือกใช้โดยปกติขึ้นกับ
-เนื้อที่ที่จะติดตั้ง
- วัตถุประสงค์ในการใช้
- เงินทุน
- จำนวนผู้ที่จะใช้ห้องในขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งจะถูกจำกัดโดยขนาดของม้านั่ง
โดยพิจารณาจากความสะดวกสบายเป็นหลัก
หัวใจหลักของเซาว์น่า
ความร้อนที่เหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญของห้องเซาว์น่าที่ดี เพราะนอกจากจะมีผลต่อการอาบเซาว์น่า
แล้วยังมีผลต่อส่วนรวมของความสมบูรณ์ของห้องเซาว์น่านั้น ๆ เอง หลักสำคัญของเซาว์น่าดังได้กล่าวมาแล้วไม่ใช่เพียง
เป็นการทำให้อากาศในห้องร้อน แต่เป็นผลจากการสะสมความร้อนในหิน และโครงสร้างของวัสดุอื่น ๆ ในห้องด้วย
ดังนั้นถ้าห้องเซาว์น่าที่มีความร้อนไม่เหมาะสม ผู้อาบเซาว์น่าจะมีการออกเหงื่อที่ไม่พอเหมาะซึ่งผลดีต่อสุขภาพ
ดังที่ต้องการจะได้ผลเป็นส่วนน้อย
ในขณะเดียวกันเมื่อความร้อนที่สะสมอยู่ในหินถูกนำไปใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิในห้อง โดยการพรมน้ำ
หลาย ๆ ครั้ง จะไม่มีความร้อนเหลือพอจะไล่ความชื้นหลังการใช้ห้องเซาว์น่า ทำให้ห้องเซาว์น่ามีโอกาสผุได้ ซึ่งเป็น
ความแตกต่างที่สำคัญของห้องเซาว์น่าที่มีความร้อนที่เหมาะสมสมบูรณ์กับห้องเซาว์น่าที่มีความร้อนไม่สมบูรณ์
เพราะห้องที่สมบูรณ์ความร้อนของหินในเตาหลังการใช้จะไล่ความชื้นในห้องได้จนหมด จะไม่มีการผุของไม้เกิดขึ้นเลย
การเลือกและเข้าใจจุดสำคัญของเซาว์น่า
-ส่วนประกอบของเซาว์น่า
1. ห้อง - ปกติแบ่งเป็น
1.1 เซาว์น่ารุ่นภายในอาคาร (INDOOR SAUNA) แบ่งเป็น
1.1.1 รุ่นซิสุ (SISU)

เป็นห้องเซาว์น่าที่ใช้ไม้สปรูซเข้าร่องลิ้น โดยมีโครงและฉนวนกันความร้อนอยู่ตรงกลาง
ทำให้สามารถตอบสนองรูปแบบและขนาดที่ต้องการได้

1.1.2 รุ่นเจาท์เซ่น (JOUTSEN)

เป็นห้องเซาว์น่าที่ใช้ไม้ตันเข้าร่องลิ้นและบากไม้โดยไม่ใช้ตะปูเลย แต่จะต้องถูกบังคับด้วย
ขนาดห้องสำเร็จที่นำเข้าโดยตรงจากฟินแลนด์
1.2 เซาว์น่ารุ่นนอกอาคาร (OUTDOOR SAUNA)
ปกติเป็นเซาว์น่าแบบเดียวกับเจาท์เซ่น แต่มีคาน พื้น โครงสร้างและหลังคาในตัว เหมาะกับการตั้งในสวน
หรือนอกอาคารโดยตรง

2. เครื่องเซาว์น่า เฮโล่/ลาเกอร์โฮม
1. ตัวเครื่องผลิตจากสแตนเลส ผ่านการเคลือบสีและอาบวานิชอีกครั้งหนึ่ง
ทำให้เงางามโดยเป็นสีมาตรฐานสีเดียว
2. มาตรฐานปกติของเปลือกเตา ชั้นนอกสามารถสัมผัสได้เหมือนกับ
ยี่ห้ออื่น
3. บรรจุหินเต็มหน้าตัดของเครื่องโดยกำหนดมาตรฐานจำนวนกิโลกรัม
ของหินที่ต้องใช้อย่างชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่จะได้
มาตรฐาน F.S. ของฟินแลนด์
4. การทำงานมาตรฐานของเครื่องเซาว์น่าทุกยี่ห้อจะเป็นการที่ไฟฟ้าไหลผ่าน
ขดลวดแล้วแปลงเป็นความร้อน กระจายไปสะสมไว้ที่หินพิเศษ
PERDOTITE แล้วจึงกระจายมาทำความร้อนให้ห้องเซาว์น่า
ดังนั้นปริมาณหินยิ่งมากในขนาดเตารุ่นเดียวกัน จะช่วยให้อุณหภูมิ
ห้องเซาว์น่ามีความร้อนสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาใช้งาน โดยช่วงปิด
เครื่องในแต่ละครั้งการใช้งานต้องเสียเวลาประมาณ 20-25 นาที
ในการอุ่นอุณหภูมิห้อง
5. มีแบบและรุ่นที่ต่างกันให้เลือกตามความเหมาะสมในการใช้งาน
6. ระบบความปลอดภัยจากเบรคเกอร์ของระบบผ่านชุดควบคุมซึ่งมี
เบรคเกอร์ทำหน้าที่เป็นเมนสวิทช์ด้วย, มีรีเลย์, ไทม์เมอร์สวิทช์,
สวิทช์ปรับตั้งอุณหภูมิ และฟิวล์พิเศษในตัวชุดควบคุม ภายในห้อง
เซาว์น่าจะมีเทอร์โมสแตทควบคุมอุณหภูมิตามที่ผู้ใช้ตั้งไว้โดยมี
ไมโครเทมป์เป็นตัวป้องกันเหตุผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น การโยน
วัสดุแปลกปลอมลงในเครื่อง เครื่องจะตัดไฟทั้งระบบเพื่อป้องกัน
เหตุผิดปกติ
7. ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพ F.S. ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรอง
คุณภาพชนิดเดียวที่ออกให้โดยสมาคมควบคุมคุณภาพการส่งออก
เซาว์น่าแห่งฟินแลนด์ โดยได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก
ประเทศอื่น ๆ ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ของฟินแลนด์ เช่น
FEMKO |
= ฟินแลนด์ |
S |
= สวีเดน |
D |
= เดนมาร์ก |
N |
= นอร์เวย์ |
VDE |
= เยอรมัน |
OVE |
= ออสเตรีย |
SEV |
= สวิสเซอร์แลนด์ |
KEMA |
= เนเธอร์แลนด์ |
CSA |
= แคนาดา |
UL |
= สหรัฐอเมริกา |
ทั้งนี้ไม่เคยรับผลการทดสอบที่เรียกว่า FINNISH SAUNA TEST
ที่มีการอ้างว่าจัดในประเทศฟินแลนด์ โดยมีการให้ดาวรับรองคุณภาพ
แก่เครื่องเซาว์น่าที่เข้ารับการ TEST เนื่องจากเป็นการจัดโดยบริษัท
เซาว์น่าหนึ่งในประเทศอื่นที่เพียงว่าจ้างช่างเทคนิคมาทำการทดสอบ
โดยไม่ได้เป็นองค์กรสากลที่นานาชาติยอมรับ หรือทำการเปรียบเทียบ
ตามมาตรฐานสากลที่ควรเป็น รวมทั้งไม่สามารถระบุว่าแต่ละดาวที่ให้
การรับรองนั้นเป็นเรื่องคุณภาพด้านใด
8. ชุดเซาว์น่าชุดแรกที่นำเข้าโดยตรงจากฟินแลนด์ตั้งแต่ปี 1980
ขณะนี้ยังใช้งานอยู่ประมาณกว่า 20 ปีก่อน
9. กลุ่มโรงงานพัฒนาเซาว์น่ามาแล้วประมาณ 90 ปี
3. ชุดควบคุม
อุปกรณ์ชุดควบคุมแยกส่วน (REMOTE CONTROL BOX) ซึ่งมี
เทอร์โมสแตท, รีเลย์สวิทช์ตั้งอุณหภูมิ, สวิทช์ไทม์เมอร์ปรับตั้งเวลา
ติดตั้งแยกส่วนนอกห้องเซาว์น่า นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์ฟิวล์สำหรับ
ป้องกันกรณีเกิดเหตุผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานไม่ถูกต้อง
จะตัดไฟจากวงจรโดยอัตโนมัติ
4. อุปกรณ์เครื่องใช้ในห้องเซาว์น่า

1. กระบวยตักน้ำ |
2. เทอร์โมมิเตอร์ |
3. ไฮโกรมิเตอร์ |
4. ที่แขวนเสื้อผ้า |
5. แปรงขัดตัว |
6. ถังน้ำ |
7. ไฟเซาว์น่า |
8. แลมเชด |
9. ลิ้นประต |
10. มือจับพิเศษ |
11. ที่หนุนศีรษะ |
12. แผ่นภาพการ์ตูนแนะนำการอาบเซาว์น่า |
13. นาฬิกาทราย |
14. น้ำยายูคาลิปตัส |
|
ระบบการทำงานของเซาว์น่า
เริ่มจากไฟฟ้าผ่านขดลวดในเตาเซาว์น่า ขดลวดกระจายความร้อนสู่
หินเซาว์น่า (PERIDOTITE) ซึ่งเป็นหินที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการอบ
ความร้อนได้ถึง 4-500°C และไม่เกิดการแตกเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
กระทันหันจากการราดน้ำลงบนหินที่กำลังร้อน ๆ
หินเซาว์น่าจะซับความร้อนและกระจายความร้อนสู่ตัวห้องจนถึงจุด
อุณหภูมิที่ต้องการ ปกติจะใช้เวลาในการวอร์มห้องครั้งแรกที่เปิดเครื่อง
แต่ละครั้งประมาณ 25 นาที
เมื่ออุณหภูมิถึงจุดที่ตั้งไว้เครื่องจะทำหน้าที่ตัดต่อโดยอัตโนมัติซึ่งจะสังเกตุ
ได้ว่าปริมาณหินซึ่งเป็นหัวใจของระบบการทำงาน หากยิ่งมากจะยิ่งทำให้
อุณหภูมิและการทำงานสม่ำเสมอยิ่งขึ้น
หัวใจหลักในการทำงานของเซาว์น่า
ความร้อนที่เหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญของห้องเซาว์น่าที่ดีเพราะนอกจากจะมีผลต่อการอบเซาว์น่าแล้ว
ยังมีผลต่อส่วนรวมของความสมบูรณ์ของห้องเซาว์น่านั้น ๆ เอง หลักสำคัญของเซาว์น่าดังได้กล่าวมาแล้วไม่ใช่เพียง
เป็นการทำให้อากาศในห้องร้อน แต่เป็นผลจากการสะสมความร้อนในหินและโครงสร้างของวัสดุอื่น ๆ ในห้องด้วย
ดังนั้นถ้าห้องเซาว์น่าที่มีความร้อนไม่เหมาะสมผู้อบเซาว์น่าจะมีการเหงื่อออกที่ไม่พอเหมาะ ซึ่งผลดีต่อสุขภาพดังที่
ต้องการจะได้ผลเป็นส่วนน้อย
ในขณะเดียวกันเมื่อความร้อนที่สะสมอยู่ในหินถูกนำมาใช้เพื่ออุณหภูมิในห้องโดยการพรมน้ำ
หลาย ๆ ครั้ง จะไม่มีความร้อนเหลือพอจะไล่ความชื้นหลังการใช้ห้องเซาว์น่า ทำให้ห้องเซาว์น่ามีโอกาสผุได้
ซึ่งเป็นความแตกต่างที่สำคัญของห้องเซาว์น่าที่มีความร้อนที่เหมาะสมสมบูรณ์กับห้องเซาว์น่าที่มีความร้อนไม่สมบูรณ์
เพราะห้องที่สมบูรณ์ความร้อนของหินในเตาหลังการใช้จะไล่ความชื้นในห้องได้จนหมด จะไม่มีการผุของไม้เกิดขึ้นเลย
วิธีการอบเซาว์น่า
เมื่ออุณหภูมิในห้องถึงจุดที่ตั้งไว้ (แนะนำเริ่มต้นที่ 70-80°C) ผู้ใช้ห้องเซาว์น่าก็เข้าอบโดยนั่งหรือ
นอนเพื่อให้ความร้อนไล่เหงื่อให้ผู้อบ ซึ่งผู้อบไม่ต้องฝืนทนกับความร้อน ความร้อนแห้งพิเศษในห้องเซาว์น่าจะช่วยให้
รูขุมขนเปิดพร้อมขับเหงื่อออกมา และเดียวกันโลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนเร็วขึ้น ทำให้อ๊อกซิเจนส่วนเพิ่มไปเลี้ยง
ร่างกาย เมื่อรู้สึกว่าเหงื่อออกพอก็ออกมาเพื่ออาบน้ำเย็น เป็นการลดอุณหภูมิ กระชับรูขุมขนให้ปิด โดยสามารถอบซ้ำ
ได้อีก 1-2 ครั้ง ตามต้องการ
หลังการอบเซาว์น่าควรดื่มน้ำหรือน้ำผลไม้เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป
ประโยชน์ในการอบเซาว์น่า
ต่อสุขภาพ
ช่วยให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้น ขณะเดียวกันกล้ามเนื้อก็ได้มีการขยายและหดตัวเสมือน
การออกกำลังกาย แต่หัวใจไม่ต้องหักโหมเหมือนการออกกำลังกายจริง ๆ ทำให้เสริมสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งในปัจจุบัน
เป็นที่ยอมรับในการใช้เป็นสิ่งทดแทนการออกกำลังกายตามปกติ
ด้านจิตใจ
เมื่อสุขภาพดีขึ้น ประกอบกับรู้สึกสะอาดเป็นพิเศษหลังการอบเซาว์น่า สุขภาพจิตย่อมดีตามไปด้วย
ทำให้สดชื่น แจ่มใส
ด้านความงาม
ทำให้ผิวหนังสะอาดดีกว่าการทำความสะอาดแบบอื่นใด รวมทั้งทำให้ผิวเนียนเต่งตึงขึ้น ซึ่งเป็น
สุดปรารถนาของคุณสุภาพสตรี
ด้านสังคม
เซาว์น่าสามารถใช้เป็นมุมต้อนรับสหายหรือพบปะสังสรรค์กับบุคคลที่คุณจัดว่าเป็นบุคคลพิเศษ
หรือในโอกาสพิเศษได้เป็นอย่างดี
บรรยากาศข้างต้นทั้งหมดเป็นส่วนประกอบของการอบเซาว์น่า ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปจะไม่ถือว่า
เป็นการอบเซาว์น่า แต่จะกลายเป็นความร้อนที่ทารุณแทนบรรยากาศที่สนุกสนานของเซาว์น่า
จากข้อมูลข้างต้น การเลือกหรือตัดสินใจซื้อเซาว์น่าต้องคำนึงถึง
-วัสดุตัวห้องและรายละเอียด
-วัสดุเครื่องคุณภาพและคุณสมบัติเครื่อง
-บริการหลังการขายและความน่าเชื่อถือ
-งบประมาณหรือราคาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อจำกัดข้างต้น